วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

คณะผู้จัดทำ

นางสาวปทิตตา        หุตะจูฑะ      เลขที่ 17
นางสาวบัณฑิตา      ประยูรพงษ์   เลขที่ 29
นางสาวพิมพ์มาดา   ดาษดา          เลขที่ 38
นางสาวเหมหงส์      คงนุ่น           เลขที่ 41
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4






เฉลยแบบทดสอบ

1.ข้อใดเรียงลำดับจากระบบใหญ่ไปสู่ระบบเล็กตามลำดับอย่างถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : กลุ่มดาว เอกภพ กาแล็กซี แนวทางช้างเผือก
ตัวเลือกที่ 2 : เอกภพ กาแล็กซี แนวทางช้างเผือก กลุ่มดาว
ตัวเลือกที่ 3 : กาแล็กซี แนวทางช้างเผือก กลุ่มดาว เอกภพ
ตัวเลือกที่ 4 : แนวทางช้างเผือก กลุ่มดาว เอกภพ กาแล็กซี

2.ข้อใดกล่าวถึงลักษณะและสมบัติของหลุมดำ
ตัวเลือกที่ 1 : มีมวลต่ำอยู่รอบนอกของกาแล็กซี
ตัวเลือกที่ 2 : มีมวลต่ำ อยู่ศูนย์กลางของกาเล็กซี
ตัวเลือกที่ 3 : มีมวลมหาศาลอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี
ตัวเลือกที่ 4 : ไม่มีข้อใดถูก

3.ดวงอาทิตย์ เกิดจากข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : การชนกันของดาวฤกษ์หลายๆ ดวง
ตัวเลือกที่ 2 : การยุบรวมตัวของกลุ่มดาวในกาแล็กซี
ตัวเลือกที่ 3 : การยุบรวมตัวของหลุมดำ
ตัวเลือกที่ 4 : การยุบรวมตัวของเนบิวลา


4.นักดาราศาสตร์แบ่งชนิดของดาวฤกษ์ โดยใช้เกณฑ์ในข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : สีและมวล
ตัวเลือกที่ 2 : มวลและอุณหภูมิผิว
ตัวเลือกที่ 3 : มวลและความสว่าง
ตัวเลือกที่ 4 : มวลและกำลังส่องสว่าง

5.สีของดาวฤกษ์ในข้อใดมีการเรียงลำดับตามอุณหภูมิพื้นผิวจากสูงไปต่ำ
ตัวเลือกที่ 1 : ขาว แดง ส้ม
ตัวเลือกที่ 2 : แดง เหลือง
ตัวเลือกที่ 3 : น้ำเงิน ขาว ส้ม
ตัวเลือกที่ 4 : เหลือง ส้ม น้ำเงิน

6.ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก คือ การระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา
ตัวเลือกที่ 2 : ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบตัวของหลุมดำ
ตัวเลือกที่ 3 : ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีช่วงชีวิตที่ยาวกว่าดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย
ตัวเลือกที่ 4 : ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก

7.จุดจบของดวงอาทิตย์ คือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : กลายเป็นดาวยักษ์แดง
ตัวเลือกที่ 2 : กลายเป็นดาวแคระขาว
ตัวเลือกที่ 3 : ระเบิดอย่างรุนแรง
ตัวเลือกที่ 4 : ระเบิดได้ธาตุยูเรเนียม

8.ดาวฤกษ์ก่อนเกิด มีลักษณะอย่างไร
ตัวเลือกที่ 1 : ความดันของแก๊สลดลง
ตัวเลือกที่ 2 : อุณหภูมิขอบนอกสูงกว่าแก่นกลางหลายแสงองศาเซลเซียส
ตัวเลือกที่ 3 : อุณหภูมิแก่นกลางสูงกว่าขอบนอกหลายแสงองศาเซลเซียส
ตัวเลือกที่ 4 : แรงโน้มถ่วงลดลง

9.ดาวเคราะห์ใดที่ถูกตัดออกจากการเป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์
ตัวเลือกที่ 1 : ดาวพลูโต
ตัวเลือกที่ 2 : ดาวเนปจูน
ตัวเลือกที่ 3 : ดาวยูเรนัส
ตัวเลือกที่ 4 : ดาวเสาร์

10. นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ออกเป็นกี่เขต อะไรบ้าง
ตัวเลือกที่ 1 : 2 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย
ตัวเลือกที่ 2 : 3 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอก
ตัวเลือกที่ 3 : 4 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอก เขตดาวหาง
ตัวเลือกที่ 4 : 5 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอก เขตดาวหาง บริวารของดาวเคราะห์



เฉลยแบบฝึกหัด

1. ดาวฤกษ์เป็นก้อนแก๊สร้อนขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น ธาตุไฮโดรเจน
2. ดาวฤกษ์ทุกดวงมีลักษณะที่เหมือนกัน 2 อย่างคือ มีพลังงานในตัวเองและเป็นแหล่งกำเนิดของธาตุต่าง ๆ เช่น ธาตุฮีเลียม  ลิเทียม  เบริเลียม
3. ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก ๆ มักจะมีธาตุที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่เท่านั้น
4. ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง  มวล  อุณหภูมิผิว  สี  อายุ  องค์ประกอบทางเคมี  ขนาด  ระยะห่าง  ความสว่างและระบบดาว
5. วิวัฒนาการของดาวฤกษ์มีลักษณะคือ เกิดจากการยุบรวมตัวของเนบิวลา หรืออาจกล่าวได้ว่าเนบิวลาเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ทุกประเภท แต่จุดจบของดาวฤกษ์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับมวลสาร
6. ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยจะใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้น้อยมีผลทำให้ช่วงชีวิตของดาวฤกษ์ยาวและจบชีวิตลงด้วยการไม่ระเบิด
7. ดาวฤกษ์ที่จบชีวิตโดยการไม่ระเบิดจะกลายเป็นดาวแคระขาว เช่นดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา
8. ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้มากมีผลทำให้ช่วงชีวิตของดาวฤกษ์สั้นและจบชีวิตลงด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่าซูปเปอร์โนวา
9. การเกิดซูปเปอร์โนวาจะมีแรงโน้มถ่วงทำให้ดาวยุบตัวลงกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ ในขณะเดียวกันก็มีแรงสะท้อนที่ทำให้ส่วนภายนอกของดาวระเบิดเกิดธาตุหนักต่าง ๆ

10. พลังงานของดวงอาทิตย์เกิดที่แกนกลางชั้นในสุด เป็นบริเวณที่ มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก ทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่แกนกลางดวงอาทิตย์

แบบทดสอบ

1.ข้อใดเรียงลำดับจากระบบใหญ่ไปสู่ระบบเล็กตามลำดับอย่างถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : กลุ่มดาว เอกภพ กาแล็กซี แนวทางช้างเผือก
ตัวเลือกที่ 2 : เอกภพ กาแล็กซี แนวทางช้างเผือก กลุ่มดาว
ตัวเลือกที่ 3 : กาแล็กซี แนวทางช้างเผือก กลุ่มดาว เอกภพ
ตัวเลือกที่ 4 : แนวทางช้างเผือก กลุ่มดาว เอกภพ กาแล็กซี

2.ข้อใดกล่าวถึงลักษณะและสมบัติของหลุมดำ
ตัวเลือกที่ 1 : มีมวลต่ำอยู่รอบนอกของกาแล็กซี
ตัวเลือกที่ 2 : มีมวลต่ำ อยู่ศูนย์กลางของกาเล็กซี
ตัวเลือกที่ 3 : มีมวลมหาศาลอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี
ตัวเลือกที่ 4 : ไม่มีข้อใดถูก

3.ดวงอาทิตย์ เกิดจากข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : การชนกันของดาวฤกษ์หลายๆ ดวง
ตัวเลือกที่ 2 : การยุบรวมตัวของกลุ่มดาวในกาแล็กซี
ตัวเลือกที่ 3 : การยุบรวมตัวของหลุมดำ
ตัวเลือกที่ 4 : การยุบรวมตัวของเนบิวลา


4.นักดาราศาสตร์แบ่งชนิดของดาวฤกษ์ โดยใช้เกณฑ์ในข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : สีและมวล
ตัวเลือกที่ 2 : มวลและอุณหภูมิผิว
ตัวเลือกที่ 3 : มวลและความสว่าง
ตัวเลือกที่ 4 : มวลและกำลังส่องสว่าง

5.สีของดาวฤกษ์ในข้อใดมีการเรียงลำดับตามอุณหภูมิพื้นผิวจากสูงไปต่ำ
ตัวเลือกที่ 1 : ขาว แดง ส้ม
ตัวเลือกที่ 2 : แดง เหลือง
ตัวเลือกที่ 3 : น้ำเงิน ขาว ส้ม
ตัวเลือกที่ 4 : เหลือง ส้ม น้ำเงิน

6.ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก คือ การระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา
ตัวเลือกที่ 2 : ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบตัวของหลุมดำ
ตัวเลือกที่ 3 : ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีช่วงชีวิตที่ยาวกว่าดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย
ตัวเลือกที่ 4 : ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก

7.จุดจบของดวงอาทิตย์ คือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : กลายเป็นดาวยักษ์แดง
ตัวเลือกที่ 2 : กลายเป็นดาวแคระขาว
ตัวเลือกที่ 3 : ระเบิดอย่างรุนแรง
ตัวเลือกที่ 4 : ระเบิดได้ธาตุยูเรเนียม

8.ดาวฤกษ์ก่อนเกิด มีลักษณะอย่างไร
ตัวเลือกที่ 1 : ความดันของแก๊สลดลง
ตัวเลือกที่ 2 : อุณหภูมิขอบนอกสูงกว่าแก่นกลางหลายแสงองศาเซลเซียส
ตัวเลือกที่ 3 : อุณหภูมิแก่นกลางสูงกว่าขอบนอกหลายแสงองศาเซลเซียส
ตัวเลือกที่ 4 : แรงโน้มถ่วงลดลง

9.ดาวเคราะห์ใดที่ถูกตัดออกจากการเป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์
ตัวเลือกที่ 1 : ดาวพลูโต
ตัวเลือกที่ 2 : ดาวเนปจูน
ตัวเลือกที่ 3 : ดาวยูเรนัส
ตัวเลือกที่ 4 : ดาวเสาร์

10. นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ออกเป็นกี่เขต อะไรบ้าง
ตัวเลือกที่ 1 : 2 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย
ตัวเลือกที่ 2 : 3 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอก
ตัวเลือกที่ 3 : 4 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอก เขตดาวหาง


ตัวเลือกที่ 4 : 5 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอก เขตดาวหาง บริวารของดาวเคราะห์



แบบฝึกหัด

1. ดาวฤกษ์เป็นก้อนแก๊สร้อนขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น .................................

2. ดาวฤกษ์ทุกดวงมีลักษณะที่เหมือนกัน 2 อย่างคือ.................................................และ..................................................................... เช่น ธาตุฮีเลียม  ลิเทียม  เบริเลียม

3. ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก ๆ มักจะมีธาตุที่มีนิวเคลียส......................................

4. ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง  .................  ......................  ................  4อายุ  5 องค์ประกอบทางเคมี  6 ขนาด  7ระยะห่าง  8ความสว่างและ9ระบบดาว

5. วิวัฒนาการของดาวฤกษ์มีลักษณะคือ เกิดจากการยุบรวมตัวของ............... หรืออาจกล่าวได้ว่า..............................เป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ทุกประเภท แต่จุดจบของดาวฤกษ์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ........................................................................

6. ดาวฤกษ์ ที่ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้น้อยมีผลทำให้ช่วงชีวิตของดาวฤกษ์.........................และจบชีวิตลงด้วยการ.............................................

7. ดาวฤกษ์ที่จบชีวิตโดยการไม่ระเบิดจะกลายเป็น................................. เช่น.........................ในระบบสุริยะของเรา

8. ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้มากมีผลทำให้ช่วงชีวิตของดาวฤกษ์.............และจบชีวิตลงด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า....................................................

9. การเกิดซูปเปอร์โนวาจะมีแรงโน้มถ่วงทำให้ดาวยุบตัวลงกลายเป็นดาว..........................หรือกลายเป็น............................ ในขณะเดียวกันก็มีแรงสะท้อนที่ทำให้ส่วนภายนอกของดาวระเบิดเกิดธาตุหนักต่าง ๆ

10. พลังงานของดวงอาทิตย์เกิดที่แกนกลางชั้นในสุด เป็นบริเวณที่ มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก ทำให้เกิด...........................................ที่แกนกลางดวงอาทิตย์


ระบบสุริยจักรวาล

กำเนิดระบบสุริยะ

เกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่น ที่เรียกว่า โซลาร์เนบิวลา (Solar Nebula)  เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานที่ใจกลางของกลุ่มก๊าซเกิดเป็นดาวฤกษ์ คือ  ดวงอาทิตย์ ประมาณร้อยละ 99.8 ของมวลทั้งหมด  เศษฝุ่นและก๊าซที่เหลือจากการเกิดดาวฤกษ์ เคลื่อนที่อยู่ล้อมรอบ เกิดการรวมตัวกันภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง กลายเป็นดาวเคราะห์และวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 8 ดวง เรียงตามลำดับจากในสุดคือ ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก   ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์   ดาวยูเรนัส    ดาวเนปจูน   ดาวเคราะห์นั้นไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เราสามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวดาวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์แล้วเข้าสู่ตาเรา   

ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์ทั้ง 8 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้

แบ่งตามลักษณะทางกายภาพหรือลักษณะพื้นผิว
1. ดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์แข็ง (Inner or Terrestrial Planets) :จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของ ได้แก่ดาวพุธ , ดาวศุกร์,โลก และดาวอังคาร  ซึ่งจะใช้แถบของดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง 
2. ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ก๊าซ (Outer or Giant Gas Planets)จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ผิวรอบนอกปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน  และฮีเลียม  ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี , ดาวเสาร์ , ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน

แบ่งตามวงทางโคจรโดยใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งดาวเคราะห์ได้ ดังนี้
1. ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์
2. ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

ดาวพุธ
เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ มากที่สุดและเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นดาวพุธจึงร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลากลางคืน จึงได้ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง สังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้ตอนใกล้ค่ำและช่วงรุ่งเช้า ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร ดาวพุธหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกกินเวลาประมาณ 58-59 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 88 วัน


ดาวศุกร์
ดาวศุกร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุดสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  ใหญ่เป็นอันดับ 6 เนื่องจากขนาดมวล ความหนาแน่นและองค์ประกอบของธาตุต่างๆ มีความคล้ายคลึงกับโลกมาก จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดโลก ชาวโรมันเรียก วีนัส เป็น เทพธิดาแห่งความรักถ้าเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ เรียกว่า ดาวประจำเมือง ถ้าเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ดาวประกายพรึก ชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่ของดาวศุกร์เป็นแก๊สดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร


โลก

โลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี ใหญ่เป็นอันดับ 5 โลกมีฉายาว่าดาวเคราะห์สีน้ำเงิน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต



ดาวอังคาร
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใหญ่เป็นอันดับ 7 ผิวพื้นเป็นหินสีแดงจึงได้ชื่อว่าเทพเจ้าแห่งสงคราม หรือดาวเคราะห์สีแดง หินบนดาวอังคารที่มีสีแดงเพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวอังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจากหินแดงนี้ผิวของดาวอังคารจึงเหมือนกับทะเลหินแดง อยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวงคือโฟบอส และ ดีมอส


ดาวพฤหัส
ฉายาว่าโลกยักษ์หรือดาวเคราะห์ยักษ์ เนื่องจากเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 12 ปีนักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารมากถึง  63 ดวง



ดาวเสาร์
เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งการเกษตร ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์สวยที่สุดเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร  60 ดวง



ดาวยูเรนัส
หรือดาวมฤตยู  เป็นดาวเคราะห์แก๊สสีน้ำเงินเขียวจึงได้ฉายาว่า เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าใหญ่เป็นอันดับ  3   มีวงแหวนบาง ๆ ล้อมรอบ  นอกจากนี้ยังมีพื้นผิวและบรรยากาศคล้าย ๆ ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ดาวเนปจูน หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 27 ดวง



ดาวเนปจูน
หรือดาวเกตุเป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายเป็นเทพเจ้าแห่งทะเลหรือเรียกว่าดาวสมุทร โครงสร้างมีความคล้ายคลึงกับกับดาวยูเรนัส ทุกประการ อาจเรียกว่าเป็น ดาวคู่แฝดก็ได้ เพียงมีขนาดเล็กกว่าและมวลมากกว่าเป็นดาวเคราะห์แก๊สสีน้ำเงิน ใหญ่เป็นอันดับ 4 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 165 ปี ดวงจันทร์ของดาวเนปจูนมีถึง 13 ดวง และ Triton จัดว่าเป็นดวงจันทร์ ที่สวยงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะเลยที่เดียว


ดวงอาทิตย์ (The Sun)
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจน 74% ต่อมวล ฮีเลียม 25% ต่อมวล และธาตุหนักอื่น ๆ อีก 1% ต่อมวลพลังงานของดวงอาทิตย์มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน จุดมืด (sunspots) บนดวงอาทิตย์ คือ บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้นสูงมาก บางครั้งจะมีการลุกจ้า (flares) การลุกจ้า (flares) บนดวงอาทิตย์เป็นการระเบิดรุนแรง ทำให้มีอนุภาโปรตอoและอิเล็กตรอนความเร็วสูงหลุดออกมา  สามารถส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโลก สนามแม่เหล็กโลก และเกิดปรากฎการณ์พายุสุริยะ


สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์

ความส่องสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์

ความส่องสว่าง เป็นพลังงานที่ดาวฤกษ์ปลดปล่อยออกมาต่อหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร แต่เนื่องจากดวงตาของมนุษย์ไม่มีความละเอียดมากพอที่จะแยกพลังงานระดับนี้ได้จึงกำหนดค่าเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ในรูปของ อันดับความสว่างหรือโชติมาตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่าง ซึ่งไม่มีหน่วย โดยจัดอันดับความสว่างของดาวฤกษ์จากความยาวคลื่นและพลังงานที่ดาวมีการแผ่รังสีออกมา อันดับความสว่างของดาวฤกษ์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. อันดับความสว่างปรากฏ
เป็นอันดับความสว่างของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลกที่มองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวแต่ละดวงได้เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกและดวงดาวมีผลต่อการมองเห็นความสว่าง ดาวที่มีความสว่างเท่ากันแต่อยู่ห่างจากโลกต่างกัน คนบนโลกจะมองเห็น ดาวที่อยู่ใกล้สว่างกว่าดาวที่อยู่ไกล
2. อันดับความสว่างที่แท้จริง
            เป็นความสว่างจริงของดวงดาว การบอกอันดับความสว่างที่แท้จริงของดวงดาวจึงเป็นค่าความสว่างปรากฏของดาวใน ตำแหน่งที่ดาวดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกเท่ากัน คือ กำหนดระยะทาง เป็น 10 พาร์เซก หรือ 32.61 ปีแสง เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวได้ 


สีของดาวฤกษ์  (THE  COLOR  OF  STARS )

ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าแต่ละดวงนั้นมีสีไม่เหมือนกัน ซึ่งมีการจำแนกสีดาวฤกษ์ออกเป็น  7  ประเภท   ได้แก่ ดาวประเภท  O, B, A, F, G, K, M สีของดาวฤกษ์จะขึ้นอยู่อุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์ โดยสีน้ำเงินแทน
ดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดที่สุด   ส่วนสีแดงแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนน้อยที่สุด ทั้งนี้สีของดาวยังสัมพันธ์กับอายุและพลังงานของดาวฤกษ์ คือ ดาวอายุน้อยจะมีการใช้พลังงานมาก อุณหภูมิพื้นผิวสูงดาวฤกษ์จะมีสีน้ำเงิน ขณะที่ดาวอายุมากจะมีการใช้พลังงานน้อยอุณหภูมิพื้นผิวต่ำดาวฤกษ์จะมีสีแดง