วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์ทุกดวงมีความเหมือนกันอยู่ 2 ประการ คือ
1. มีพลังงานในตัวเอง ( เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่น 

2. เป็นแหล่งกำเนิดธาตุต่าง ๆ  เช่น ธาตุฮีเลียม  ลิเทียม  เบริลเลียม เป็นต้น

ดาวฤกษ์มีความแตกต่างกันในเรื่องของ มวล  อุณหภูมิผิวหรือสีหรืออายุ องค์ประกอบทางเคมี  ระยะห่าง  ความสว่าง ระบบดาวและวิวัฒนาการ เป็นต้น

การสังเกตความแตกต่างของดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์
สามารถพิจารณาได้  4  วิธี  คือ
1. สังเกตการส่องแสงของดวงดาว   ถ้าดวงดาวนั้นกระพริบแสงจัดเป็นดาวฤกษ์   แต่ถ้าดาวดวงนั้นมีแสงสว่างนวลนิ่งจัดเป็นดาวเคราะห์
2. สังเกตการเคลื่อนที่  ถ้าดาวแต่ละดวงไม่เคลื่อนที่และเกาะกลุ่มกันอยู่ในตำแหน่งเดิมก็จัดเป็นดาวฤกษ์  ส่วนดวงมีการเคลื่อนที่ไม่อยู่  ณ ตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับดาวส่วนใหญ่จัดเป็นดาวเคราะห์
3. ดาวฤกษ์จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหมู่
4. ถ้าดูดาวฤกษ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ จะไม่เห็นเป็นดวงกลมโตเพรา
ะอยู่ไกลโลกมาก


กำเนิดของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์เกิดขึ้นจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นรวมตัวกัน ซึ่งเรียกว่า เนบิวลา ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจน  ที่รวมตัวกันจนอุณหภูมิและความกดดันสูงมากที่ใจกลาง  เมื่อก๊าซร้อนในเนบิวลาอัดแน่นจนมีอุณหภูมิสูงถึง 10 ล้านเคลวิน จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่น คือ การรวมอะตอมของไฮโดรเจน  4  อะตอม ให้เป็นอะตอมของฮีเลียม 1 อะตอม แล้วปล่อยพลังงานแสงและความร้อนออกมา ถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์ขึ้น  ดาวฤกษ์ที่เห็นบนท้องฟ้าส่วนมากเป็นดาวในลำดับหลัก (พฤติกรรมของดาวที่ค่อนข้างคงที่เป็นเวลานาน) เมื่อดาวใกล้หมดอายุจะออกจากลำดับหลักไปเป็น ดาวยักษ์แดง และมีวิวัฒนาการที่ต่างกันขึ้นอยู่กับมวลตั้งต้นทีกำเนิดเป็นดาว ดังนี้

ดาวฤกษ์มวลน้อย
ดาวฤกษ์ที่มีมวล < 2 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็น ดาวแคระห์ขาว (คาร์บอน) 
ดาวฤกษ์ที่มีมวล < 8 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็น ดาวแคระห์ขาว (ออกซิเจน)

ดาวฤกษ์มวลมาก
ดาวฤกษ์ที่มีมวล > 8 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็น ดาวนิวตรอน
ดาวฤกษ์ที่มีมวล > 18 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็น หลุมดำ 

ช่วงอายุของดาวฤกษ์
อายุของดาวฤกษ์ คือ ระยะเวลาของการเผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจน  เมื่อเชื้อเพลิงหมดก็จะเกิดวาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ดวงนั้น สีและการส่องสว่าง ของดาวฤกษ์อาจบอกถึงอายุของดาวฤกษ์ได้  เพราะดาวฤกษ์เกิดใหม่มีพลังงานมาก อุณหภูมิสูงมองเห็นเป็นสีน้ำเงิน เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนค่อย ๆ ลดลงเป็นลำดับ  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงลดลงไปด้วย  สีจะเปลี่ยนเป็นสีขาว สีเหลือง และสีแดง ก่อนที่จะจบชีวิตตามลักษณะมวลของดาวฤกษ์ดวงนั้น

วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ 
เมื่อดาวฤกษ์ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเกือบหมด ฮีเลียมจะกลายเป็นเชื้อเพลิงต่อไปซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุคาร์บอนและออกซิเจน จนเชื้อเพลิงหมดลง  ดาวฤกษ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ขยายเป็นดาวยักษ์แดง  ถือเป็นช่วงชีวิตที่สั้นที่สุดของดาวฤกษ์ วาระสุดท้ายจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมวลสารของดาวฤกษ์ดาวนั้นๆ

ดาวฤกษ์มวลมาก
   
     เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ มีมวลมาก สว่างมาก จะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราที่สูงมาก   จึงมีช่วงชีวิตที่สั้นกว่า   และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก คือ การะเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา  (supernova)  แรงโน้มถ่วงจะทำให้ดาวยุบตัวลงกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ ในขณะเดียวกันก็มี แรงสะท้อนที่ทำให้ส่วนภายนอกของดาวระเบิดเกิดธาตุหนักต่างๆ เช่น ยูเรเนียม ทองคำ ฯลฯ ซึ่งถูกสาดกระจายออกสู่อวกาศกลายเป็นส่วนประกอบของเนบิวลารุ่นใหม่ และเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์รุ่นต่อไป 


 ดาวฤกษ์มวลน้อย

ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ จะมีแสงสว่างไม่มากจะใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่น้อย จึงมีช่วงชีวิตยาวและจบชีวิตลงด้วยการไม่ระเบิดแต่จะยุบตัวกลายเป็นดาวแคระขาวและกลายเป็นแคระดำในที่สุดเมื่อความสว่างหมดลง ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยและอยู่ใกล้โลกมากที่สุด   ซึ่งอยู่ห่าจากโลกของเราประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร  ดวงอาทิตย์เกิดจากยุบรวมตัวของเนบิวลา   เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว  และจะมีอายุอยู่ต่อไปอีกประมาณ 5,000 ล้านปี

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น