ความส่องสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
ความส่องสว่าง เป็นพลังงานที่ดาวฤกษ์ปลดปล่อยออกมาต่อหน่วยเวลา
มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร
แต่เนื่องจากดวงตาของมนุษย์ไม่มีความละเอียดมากพอที่จะแยกพลังงานระดับนี้ได้จึงกำหนดค่าเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ในรูปของ
อันดับความสว่างหรือโชติมาตร
ซึ่งเป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่าง ซึ่งไม่มีหน่วย
โดยจัดอันดับความสว่างของดาวฤกษ์จากความยาวคลื่นและพลังงานที่ดาวมีการแผ่รังสีออกมา
อันดับความสว่างของดาวฤกษ์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อันดับความสว่างปรากฏ
เป็นอันดับความสว่างของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลกที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวแต่ละดวงได้เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกและดวงดาวมีผลต่อการมองเห็นความสว่าง
ดาวที่มีความสว่างเท่ากันแต่อยู่ห่างจากโลกต่างกัน คนบนโลกจะมองเห็น ดาวที่อยู่ใกล้สว่างกว่าดาวที่อยู่ไกล
2. อันดับความสว่างที่แท้จริง
เป็นความสว่างจริงของดวงดาว
การบอกอันดับความสว่างที่แท้จริงของดวงดาวจึงเป็นค่าความสว่างปรากฏของดาวใน
ตำแหน่งที่ดาวดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกเท่ากัน คือ กำหนดระยะทาง เป็น 10 พาร์เซก หรือ
32.61 ปีแสง เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวได้
สีของดาวฤกษ์ (THE COLOR OF STARS )
ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าแต่ละดวงนั้นมีสีไม่เหมือนกัน
ซึ่งมีการจำแนกสีดาวฤกษ์ออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ดาวประเภท O, B, A,
F, G, K, M สีของดาวฤกษ์จะขึ้นอยู่อุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์
โดยสีน้ำเงินแทน
ดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดที่สุด ส่วนสีแดงแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนน้อยที่สุด
ทั้งนี้สีของดาวยังสัมพันธ์กับอายุและพลังงานของดาวฤกษ์ คือ
ดาวอายุน้อยจะมีการใช้พลังงานมาก อุณหภูมิพื้นผิวสูงดาวฤกษ์จะมีสีน้ำเงิน
ขณะที่ดาวอายุมากจะมีการใช้พลังงานน้อยอุณหภูมิพื้นผิวต่ำดาวฤกษ์จะมีสีแดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น